วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

 พระตะไกรแตกกรุจากวัดตะไกร จังหวัดอยุธยาในปี พ.ศ. 2465

พระตะไกรแตกกรุจากวัดตะไกร จังหวัดอยุธยาในปี พ.ศ. 2465 ในการแตกกรุครั้งนั้นจะถือเป็น พระกรุเก่า ต่อมามีการแตกกรุออกมาอีกในภายหลังจะเรียกว่า พระกรุใหม่

พิมพ์ พระวัดตะไกรนั้น แตกออกมา 3 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์หน้าครุฑ พิมพ์หน้ามงคล และ พิมพ์หน้าฤาษี

พระองค์นี้เป็นพิมพ์หน้ามงคล พระพิมพ์หน้ามงคลนอกจากจะพบเนื้อดินแล้วยังมีการพบพระเนื้อชินอีกด้วย แต่พบในจำนวนน้อยกว่า และพิมพ์นี้มักเป็นพิมพ์ที่มีการลงรักเก่ามาจากกรุมากกว่าพิมพ์อื่นๆ

พระวัดตะไกร ของกรุวัดตะไกรนั้น มักมีเอกลักษณ์คือ ที่ใต้ฐานพระจะมีรู สันณิฐานว่าเป็นรอยเสียบหญ้าคาเพื่องัดเอาองค์พระออกจากพิมพ์ และที่สำคัญจะไม่เห็นหน้าตาขององค์พระ หากหูตากระพริบแล้วละก้อออกจากกรุอื่นครับ

รักเก่าที่มาจากกรุเลยนั้น ของแท้มักเห็นฝ้ากรุอยู่บนคราบรักเสมอ รักเก่ามีการปริเผยอแยกออกในบางจุด แสดงให้เห็นว่าเก่าจริง เนื่องจากอยู่ในกรุมานานนับร้อยๆปี

ทองเดิม ซึ่งเป็นทองคำเปลว จะมีลักษณะปิดทับลงบนรักอีกที ซึ่งจะมีความแห้งเก่า และ ซีดมากทีเดียว ถือว่าเป็นลักษณะทองที่เราพบในการปิดลงกรุทั่วๆไป

พุทธคุณนั้น เด่นดังไปทางด้านป้องกัน เขี้ยว เล็บ งา จากสัตว์ร้ายๆนาๆชนิด





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น