วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

 

พระหัวใจกำแพงเดี่ยว กรุเตาทุเรียง เนื้อดินเผา จ.สุโขทัย

                      จังหวัดสุโขทัย  ในอดีตเป็นที่ตั้งอาณาจักรแรกของชนชาติไทยเมื่อ 700 กว่าปีที่แล้ว  คำว่า "สุโขทัย" มาจาก   สองคำ คือ "สุข+อุทัย" หมายความว่า  "รุ่งอรุณแห่งความสุข"  รอยอดีตแห่งความรุ่งเรืองเห็นได้จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของชาวไทยและชาวต่างประเทศ     สุโขทัย (เดิมเขียนว่า “ศุโขไทย”เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง คำขวัญของ จ.สุโขทัย  คือ  มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย  เล่นไฟลอยกระทง  ดำรงพุทธศาสนา   งามตาผ้าตีนจก   สังคโลกทองโบราณ   สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข

             ในวงการพระเครื่อง เมืองสุโขทัย  นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดของพระยอดนิยมมากมาย ที่โด่งดังสุด  คือ  พระร่วงยืนประทานพร หลังรางปืน เนื้อสนิมแดง  ในส่วนของ  พระลีลา ได้ชื่อว่ามีพุทธศิลป์ที่อ่อนช้อย งดงามที่สุดในบรรดาพระลีลาด้วยกัน พุทธศิลป์ ของพระเมืองสุโขทัย ส่วนใหญ่มีความงดงามมาก  เนื่องจากเป็นยุคที่บ้านเมืองอยู่ในช่วงที่มีความเจริญรุ่งเรืองสุดในทุกด้าน  ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ไพร่ฟ้าประชาชนมีความสุขสมบูรณ์กันถ้วนหน้า มีพระเครื่องกรุหนึ่งของเมืองสุโขทัย ที่นิยมกันมาก คือ  พระเครื่องกรุเตาทุเรียง

                   เตาทุเรียง  หรือ  เตาสังคโลก  เป็นเตาเผาถ้วยชามสังคโลก สมัยสุโขทัย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 18  ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22   เตาทุเรียงที่สำรวจพบมีอยู่  3 บริเวณด้วยกัน คือ  เตาทุเรียงบริเวณเมืองเก่าสุโขทัยเตาทุเรียงป่ายาง และ เตาทุเรียงเกาะน้อย อำเภอศรีสัชนาลัย  

                  ลักษณะของเตาเผาแบบอิฐ  มีรูปแบบคล้ายกับประทุนเกวียน  แบ่งออกเป็น  3  ส่วน ได้แก่ ที่จุดเชื้อเพลิง  ที่วางถ้วยชาม  และปล่องไฟระบายความร้อน  คาดว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18  นับเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในสมัยนั้นอย่างแท้จริง

           นอกจากการเผาภาชนะ ถ้วยชาม ที่มีชื่อเสียงโด่งดังแล้ว   ในบางครั้งก็ยังใช้เป็นเตาเผา พระเครื่อง อีกด้วยด้วย  ดังที่ได้มีขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ในบริเวณเตาทุเรียงหลายแห่ง ซึ่งล้วนเป็นพระเนื้อดินเผา อาทิ พระร่วงยืนเปิดโลกพระร่วงยืนประทานพรพระยอดขุนพลพระลือโขงพระซุ้มยอพระนางพญาเสน่ห์จันทน์พระซุ้มกระรอกกระแตพระหัวใจกำแพง ฯลฯ  พุทธคุณของพระหัวใจกําแพง คือ มหาโชค มหาชัย อํานวยโชคลาภ เสริมบารมี ป้องกันคุณใสย์มนต์ดํา แลเป็นมหานิยม ดีนักแล ฯลฯ ...





วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

 พระตะไกรแตกกรุจากวัดตะไกร จังหวัดอยุธยาในปี พ.ศ. 2465

พระตะไกรแตกกรุจากวัดตะไกร จังหวัดอยุธยาในปี พ.ศ. 2465 ในการแตกกรุครั้งนั้นจะถือเป็น พระกรุเก่า ต่อมามีการแตกกรุออกมาอีกในภายหลังจะเรียกว่า พระกรุใหม่

พิมพ์ พระวัดตะไกรนั้น แตกออกมา 3 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์หน้าครุฑ พิมพ์หน้ามงคล และ พิมพ์หน้าฤาษี

พระองค์นี้เป็นพิมพ์หน้ามงคล พระพิมพ์หน้ามงคลนอกจากจะพบเนื้อดินแล้วยังมีการพบพระเนื้อชินอีกด้วย แต่พบในจำนวนน้อยกว่า และพิมพ์นี้มักเป็นพิมพ์ที่มีการลงรักเก่ามาจากกรุมากกว่าพิมพ์อื่นๆ

พระวัดตะไกร ของกรุวัดตะไกรนั้น มักมีเอกลักษณ์คือ ที่ใต้ฐานพระจะมีรู สันณิฐานว่าเป็นรอยเสียบหญ้าคาเพื่องัดเอาองค์พระออกจากพิมพ์ และที่สำคัญจะไม่เห็นหน้าตาขององค์พระ หากหูตากระพริบแล้วละก้อออกจากกรุอื่นครับ

รักเก่าที่มาจากกรุเลยนั้น ของแท้มักเห็นฝ้ากรุอยู่บนคราบรักเสมอ รักเก่ามีการปริเผยอแยกออกในบางจุด แสดงให้เห็นว่าเก่าจริง เนื่องจากอยู่ในกรุมานานนับร้อยๆปี

ทองเดิม ซึ่งเป็นทองคำเปลว จะมีลักษณะปิดทับลงบนรักอีกที ซึ่งจะมีความแห้งเก่า และ ซีดมากทีเดียว ถือว่าเป็นลักษณะทองที่เราพบในการปิดลงกรุทั่วๆไป

พุทธคุณนั้น เด่นดังไปทางด้านป้องกัน เขี้ยว เล็บ งา จากสัตว์ร้ายๆนาๆชนิด