วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

พระสรรค์นั่ง ไหล่ยก สุดยอดพระคงกระพันแห่งเมืองชัยนาท

พระสรรค์นั่ง ไหล่ยก สุดยอดพระคงกระพันแห่งเมืองชัยนาท

หากจะกล่าวถึงพระเครื่องเนื้อดินในพื้นที่ภาคกลาง ที่มีพุทธคุณด้านคงกระพัน เป็นที่ร่ำลือกันมา ตั้งแต่ครั้งโบราณ นอกจากหลวงพ่อโตกรุบางกระทิง พระกรุวัดตะไกร พระกริ่งคลองตะเคียน แห่งเมืองกรุงเก่า พระขุนแผนเมืองสุพรรณ พระอีกกรุที่มิอาจมองข้ามคือ พระกรุเมืองสรรค์ ซึ่งเป็นที่เชื่อถือในพุทธคุณมานานปีเฉกเช่นกันเหตุใดจึงเป็นเช่น นั้น?อาจกล่าวได้ ว่าพระกรุที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้นผู้สร้างมีเจตนาเพื่ออาราธนาปกป้อง คุ้มครองจากภัยสงครามที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในครั้งกระโน้น แม้กระทั่งขุนสรรค์ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มวีรชนชาวบ้านบางระจัน เป็นหัวหน้าที่นำสมัครพรรคพวกชาวบ้านเมืองสรรค์ มาร่วมสู้รบพม่าที่ค่ายบางระจัน ก็เชื่อว่าน่าที่จะนำเอาพระพิมพ์กรุเมืองสรรค์ อาราธนาติดกายมาด้วย เนื่องจากมีเคยมีผู้พบพระพิมพ์ดังกล่าวในเขต พื้นที่รอยต่อทั้งที่สิงห์บุรีและชัยนาท พระกรุเมืองสรรค์จึงมักเป็นพระยอดนิยมอันดับต้น ๆ ที่นักสะสมทั้งหลายต่างแสวงหาเพื่อคุ้มครองตน

เมือง สรรค์บุรี ในปัจจุบันคืออำเภอสรรค์บุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย ซึ่งแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนเหนือของวัดพระบรมธาตุ จังหวัดชัยนาท นับว่าเป็นเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญและ มีประวัติความเป็นมายาวนาน ในฐานะเป็นเมืองลูกหลวง และเมืองหน้าด่านที่สำคัญ มานานกว่า 700 ปี

"พระ กรุเมืองสรรค์" จัดว่าพระชั้นนำของชัยนาท อาจเป็นด้วยพุทธลักษณะขององค์พระที่แลดูสง่างาม อีกทั้งพุทธคุณปรากฏเป็นเลิศทั้งในด้านอยู่ยงคงกระพัน

พระกรุเมือง สรรค์ พบมากที่กรุวัดมหาธาตุ วัดท้ายย่าน วัดขนุน และตามพระเจดีย์ พระปรางค์ต่างๆ ในบริเวณเมืองสรรคบุรีเก่า มีทั้งพิมพ์ยืน พิมพ์นั่ง ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และมีหลายเนื้อปะปนกันมากมาย ทั้งเนื้อชิน เนื้อดิน พุทธลักษณะของพระพิมพ์เมืองสรรค์ จะเห็นได้ชัดว่าเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้นคาบเกี่ยวกับอู่ทอง หากเปรียบเทียบจากพระบูชาสมัยอู่ทอง พุทธลักษณะที่เด่นชัดคือพระพักตร์ที่เคร่งขรึมรูปวงรี เป็นผลมะตูม พระวรกายเพรียวชะลูด พระพิมพ์นั่งทุกพิมพ์ก็คือพระอู่ทองย่อส่วนนั่นเอง

"พระ กรุเมืองสรรค์ พิมพ์นั่ง เนื้อดิน" เป็นพระเนื้อดินเผาที่มีส่วนผสมของว่าน จึงทำให้ดูหนึกนุ่ม แต่ไม่ใช่ "ว่านดอกมะขาม" จะเป็นลักษณะของ "แร่กรวด" เป็นเม็ดเล็กๆ ในเนื้อองค์พระเท่านั้น มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด สีสันขององค์พระก็มีลักษณะเหมือนพระเนื้อดินเผาทั่วๆ ไป คือ มีสีแดง เหลือง เขียว และสีมอย ทั้งอ่อนและแก่ตามความร้อนที่ได้รับมากน้อยเช่นเดียวกัน

พระ สรรค์นั่ง พิมพ์นิยมไหล่ยก พุทธลักษณะเป็นนั่งมารวิชัยพระพักตร์รูปกลมรี พระหนุเสี้ยม มีพระกรรณปรากฏให้เห็น พระอุระผาย หากแต่พระอุทร มีลักษณะที่เรียกสามัญว่าท้องป่อง ยกไหล่ซ้ายขึ้นสูงกว่าไหล่ขวา ไม่ปรากฏสังฆาฏิ และอีกสิ่งที่มีลักษณะสะดุดตาก็คือที่พระเกศมาลามีเส้นตัดขวางคล้ายกากะบาด เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพิมพ์ ส่วนขอบข้าง และส่วนฐานมีหลายรูปแบบ ทั้งข้างเม็ด ข้างขีด ฐานขีด ฐานบัว เป็นต้น พระพิมพ์น้สามารถแยกพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กได้ด้วยขนาดขององค์พระ มีพบทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชิน เนื้อดินเผามีพบเห็นจำนวนมากกว่า มีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ มีหลายเกรนสีตั้งแต่เหลืองอ่อนไปจนถึงสีเข้ม ที่เป็นสีดำก็มีบ้างแต่พบน้อยมาก พระพิมพ์นี้ขุดพบเป็นจำนวนมากที่วัดท้ายย่าน วัดพระนอน และวัดขนุน ที่ตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรค์บุรี ซึ่งพระจากทั้งสามวัดนี้ แต่เดิมเรียกกันว่าเป็นพระกรุเก่า เนื่องจากแตกขึ้นจากกรุก่อนวัดอื่น ๆ นั่นเอง

จุดสังเกตสำคัญอีก 2 ประการที่นับเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญในการพิจารณาพระกรุเมืองสรรค์ พิมพ์นั่ง เนื้อดิน ก็คือ หนึ่ง..."คราบกรุ" ซึ่งจะเกาะติดแน่นเป็นนวลหนาในเนื้อและพื้นผิวขององค์พระอยู่โดยทั่วๆ ไป ไม่สามารถล้างออกได้หมด และสอง...ผิวขององค์พระจะมีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ เป็น "พลิ้วคลื่น" เนื่องมาจากความแห้งของเนื้อและมวลสารที่มีส่วนประกอบของดินและว่านต่างๆ เมื่อผ่านกาลเวลานับเป็นร้อยปี องค์ประกอบแต่ละชนิดก็จะมีสภาพการหดตัวและการสลายตัวที่แตกต่างกัน ทำให้พื้นผิวขององค์พระกลายเป็นคลื่นสูงๆ ต่ำๆ ไม่ตึงและสม่ำเสมอเหมือนของใหม่




พระผงพิมพ์ระฆัง ( ที่ระลึกครบ 5 รอบ ) รุ่นแรก ปี2515 หลวงพ่อเกษม เขมโก

พระผงทรงระฆัง เสาร์ห้า ปี2515 หรือพระผง 5 รอบ หลวงพ่อเกษม เขมโก
  
 ถือว่าเป็นวัตถุมงคลชุดแรกที่จัดสร้าง ณ สุสานไตรลักษณ์ จัดสร้างในงานบุญครบ 5 รอบ ของหลวงพ่อเกษม เขมโก เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 จำนวนจัดสร้างจำนวน 6,500 องค์ ใช้เวลาเตรียมการกันยาวนานมาก

โดย คณะกรรมการรวบรวมมวลสารสุดยอดต่างๆ 9 สิ่งด้วยกัน ซึ่ง 9 สิ่งนี้เองเป็นพลังบันดาลให้พระผงทรงระฆังนี้ มีพุทธานุภาพสูงส่ง ประกอบด้วย

1 เส้นเกศาของหลวงพ่อเกษม เกศานั้นถือว่าเป็นของที่สูงที่สุดในร่างกายมนุษย์เรา โดยเฉพาะเกศาของหลวงพ่อเกษมด้วยแล้ว น้อยคนนักที่จะได้มาบูชา

2 จีวร หลวงพ่อเกษมท่านจะอาบน้ำน้อยครั้งมาก ดังนั้นน้ำเหงื่อไคลซึ่งจะเกิดเฉพาะตอนท่านเข้ากรรมฐานจึงหมักแน่นอยู่ในจีวรมาก

3 ก้านธูปที่หลวงพ่อเกษม ใช้บูชาอธิษฐานจิตก่อนนอนและปักที่กระถางธูป ซึ่งเป็นก้านธูปที่ท่านเพ่งกระแสจิตและสวดภาวนาทุกวี่วัน ได้ผนึกประสานรวมกันบังเกิดเป็นพลังสามารถคุ้มกันภยันตรายต่างๆได้

4 ดอกไม้บูชาพระ เป็นสิ่งที่แสดงถึงคุณงามความดี กลิ่นดอกไม้นำความชื่นใจ และการบูชาดอกไม้ทำให้จิตใจโปร่งใส
เกิดความสบายใจ และอารมณ์อันเป็นต้นกำเนิดแห่งจินตนาการของงานสร้างสรรค์ทุกแขนง

5 น้ำผึ้ง ความหวานบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ มีความสำคัญทั้งในทางด้านเป็นยาและบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง บำบัดโรคภัยไข้เจ็บสารพัด

6 น้ำมันตั้งอิ๊ว ช่วยให้เนื้อพระประสานกันไม่แตกง่าย มีความหมายเหมือนความสามัคคีธรรมที่ช่วยให้เรายึดมั่นสามัคคี มีไมตรีต่อกัน

7 ปูนซีเมนต์ขาว ทำให้เนื้อพระแข็งแกร่งและคงทน มีความหมายโดยนัยเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย

8 แก้วโป่งข่าม เป็นแก้วที่มีอิทธิปาฎิหารย์ในตัวเอง เป็นแก้วที่ทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข อยู่ยงคงกะพัน

9 กล้วยน้ำว้า เป็นตัวประสานให้เนื้อพระเหนียวแน่นคงทน เหมือน "พระสมเด็จ" ก็มีส่วนผสมของกล้วยเหมือนกัน

เมื่อ ดูส่วนผสมทั้ง 9 อย่างนี้คงพอทราบกันแล้วว่าพระผงนี้มีบารมีคุณวิเศษมากแค่ไหน เมื่อถูกบรรจุไว้ด้วยพลังจิตอันบริสุทธิ์สูงส่งของพระอริยสงฆ์อย่างหลวงพ่อ เกษม พลานุภาพ บารมีคุณวิเศษก็ยิ่งเพิ่มเป็นเท่าทวีคูณ

พระผงห้ารอบ นี้มี 2 พิมพ์ครับ คือ พิมพ์มี "ษ" กับ "ไม่มี ษ" หลายคนคงไม่ทราบว่า แล้วดูตรงไหนล่ะ ว่ามี "ษ" หรือ "ไม่มี ษ" ให้ดูด้านหลังครับ ตรงคำว่า " สุสานไตรลักษณ์ " ถ้าพิมพ์มี "ษ" ตรงคำว่า "ลักษณ์" จะมี "ษ" ส่วนพิมพ์ "ไม่มี ษ" ตรงนี้จะเป็น " ลักณ์" ซึ่ง บล็อก ไม่มี "ษ" นี้ถือว่าเป็นบล็อกแรก ช่างแกะบล็อกแกะตกหล่นไป จึงแกะบล็อกใหม่ เพิ่ม "ษ" เข้าใปให้ถูกต้อง ถือว่าเป็นบล็อกหลัง และก็เป็นบล็อกนิยมด้วย เพราะหายาก มีน้อย แต่ไม่ว่าบล็อกไหนก็เหมือนกันแหละครับ หลวงพ่อท่านมนต์ให้เหมือนกัน การแยก นิยมหรือ ไม่นิยมนั้น เพื่อพุทธพานิชย์ มากกว่า ถ้าต้องการพุทธคุณก็อย่าไปสนใจบล็อกเลยครับ

พระ ผงรุ่นนี้ ได้รับความนิยมอย่างมาก แม้รูปแบบจะไม่ค่อยงดงามนัก แต่เรี่องพุทธคุณนั้นตรงกันข้าม มีประสบการณ์เกิดกับผู้ที่แขวนใช้บูชาอย่างมากมาย ตอนหลวงพ่อท่านมนต์ให้เสร็จแล้ว หลวงพ่อบอกกับลูกศิษย์ที่เฝ้าอยู่ว่า "ถ้าใช้ไม่ดีให้เอามาคืน" โดยตั้งราคาไว้ พระผง 20 บาท และ เหรียญ 10 บาท ช่วงแรกๆก็ไม่ค่อยมีใครสนใจเช่าบูชาเท่าไหร่ จนกระทั้งมีทหารนำไปทดลองยิงในป่าข้างป่าช้า ปรากกว่ายิงไม่ออก พอข่าวนี้แพร่กระจายออกไป ผู้คนจึงพากันแห่มาเช่าบูชาจนหมดลงอย่างรวดเร็ว

จึงอยากแนะนำให้ลูกศิษย์ หรือผู้ที่ศรัทธาในตัวของหลวงพ่อ ได้มีไว้บูชา หรือเก็บสะสม กันไว้บ้าง